เคสไหนบ้างที่ พรบ.ไม่จ่าย หรือจ่ายเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

เคสไหนบ้างที่ พรบ.ไม่จ่าย หรือจ่ายเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

         อย่างที่เราทราบกันดีว่า พรบ.หรือประกันภัยภาคบังคับ คือประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 เม.ย. พ.ศ.2535  โดยกำหนดให้รถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ ทุกชนิดที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก(รถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นๆ ) ต้องจัดทำประกันภัยภาคบังคับตามพรบ.นี้  โดยรายละเอียดความคุ้มครองท่านคงได้อ่านและทำความเข้าใจกับบทความนี้แล้ว บทความพรบ.กับป้ายภาษี ต่างกันอย่างไร

พรบ.  ไม่ใช่ป้ายภาษี  รถทุกคันที่ภาษีขาดต่อ  สามารถซื้อพรบ.คุ้มครองได้

         โดยปกติทั่วไปจะมีความคุ้มครอง 1 ปี นับจากวันที่เราระบุวันคุ้มครอง (หรือหากต้องการวันคุ้มครองเพียง 120 วัน ก็สามารถระบุได้  ซึ่งเบี้ยประกันภัยพรบ.จะถูกคำนวนตามอัตราส่วน)  ซึ่งในปัจจุบันรถมอเตอร์ไซต์สามารถซื้อ พรบ. คุ้มครองยาวๆได้ถึง 5 ปีเลย

ซึ่งในบทความนี้จะมาอธิบาย "เคสไหนบ้างที่พรบ.ไม่จ่าย หรือจ่ายแค่ค่าเสียหายเบื้องต้น"

         ในกรมธรรม์พรบ.ทุกฉบับได้มีข้อยกเว้นการประกันภัยที่ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากเหตุการณ์เหล่านี้

โดยผู้ใช้รถใช้ถนนควรตระหนักและทำความเข้าใจในเงื่อนไขข้อยกเว้นนี้  นอกจากข้อยกเว้นเหล่านี้ที่พรบ.ไม่จ่ายแล้ว  ยังมีเหตุการณ์ที่พรบ.จ่ายเพียงค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น

 

 

เคสที่พรบ.จ่ายเพียงค่าเสียหายเบื้องต้น

         1. กรณีรถฝ่ายผิดไม่มี พรบ.   ถึงแม้รถเราเป็นฝ่ายถูกจะมีพรบ.ก็ตาม ฝ่ายถูกที่มีพรบ.จะเบิกค่าสินไหมได้ตามจริงไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นที่ระบุในกรมธรรม์ และบริษัทประกันฝ่ายถูกจะเรียกคืนจากฝ่ายผิด(ผู้ขับขี่)  และผู้ประสบภัยที่โดยสารมากับคันผิดจะเบิกค่าสินไหมได้กับทางกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่  เพจกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ  https://web.facebook.com/motorvictimcompensationfund

นอกจากกรณีดังกล่าวที่ สามารถเบิกกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถได้แล้วนั้น ยังมีกรณีอื่นๆ ที่เบิกได้อีกด้วย เช่น พรบ.ขาด หรือหมดความคุ้มครองแล้ว    กรมธรรม์ประกันภัย พรบ.โดยปกติจะคุ้มครองถึงเวลา 16.30น.ของวันสุดท้ายที่ระบุในกรมธรรม์ เช่น

         ตัวอย่าง  กรมธรรม์ฉบับนี้ หากเหตุเกิดวันที่ 31 มกราคม 2566  เวลา 17.30 น.  จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลหรือเคลมสินไหมได้  เพราะกรมธรรม์พรบ.ฉบับนี้ หมดความคุ้มครองแล้ว   แต่ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้ที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ   ทั้งนี้เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแล้วจะเรียกคืนจากเจ้าของรถพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 20 รวมถึงคิดค่าปรับเพิ่ม 10,000 บาท ด้วยเนื่องจากไม่จัดทำ พรบ.รถยนต์

         เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วท่านคงทราบดีว่า ประกันภัยพรบ. มีความสำคัญเพียงใด  เราในฐานะเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถสามารถซื้อพรบ.ล่วงหน้าได้ถึง 90 วัน ( เช่นเดียวกับภาษีรถสามารถต่อล่วงหน้าได้ถึง 90 วันเช่นกัน )  คนส่วนใหญ่จึงนิยมต่อพรบ.และภาษีรถพร้อมๆกัน  ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่า  พรบ.  และ  ภาษีรถ คือสิ่งเดียวกัน

         ดังนั้นผู้ครอบครองหรือใช้รถคันดังกล่าวควรตรวจสอบวัน  เวลา  ในกรมธรรม์พรบ.รถคันนั้นๆให้ดี  หากต้องการให้ความคุ้มครองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควรซื้อพรบ.ฉบับถัดไปโดยให้เริ่มวันคุ้มครอง เป็นวันเดียวกับวันที่สิ้นสุดของกรมธรรม์ฉบับก่อนหน้า 

         ดังตัวอย่างนี้ ฉบับถัดไปที่ต่อพรบ. วันคุ้มครอง  ควรเริ่มวันที่ 31 มกราคม 2567      ซึ่งโดยปกติเวลาที่เริ่มคุ้มครองจะเป็น 00.01น. ของวันที่ระบุเริ่มคุ้มครอง เว้นแต่เวลาทำสัญญาประกันภัยเลยช่วงเวลา 00.01น. ไปแล้ว  ให้ถือเวลาเริ่มคุ้มครองคือ เวลาที่ทำสัญญาประกันภัย ซึ่งจะถูกระบุในกรมธรมธรรม์ฉบับนั้นๆ    

         2. การได้รับบาดเจ็บจากรถที่ถูกขโมยและเจ้าของรถได้แจ้งความไว้แล้ว

         3. ถูกชนแล้วหนี ไม่ทราบป้ายทะเบียนรถ

         4. รถที่เกิดเหตุเป็นรถที่ได้รับข้อยกเว้นในการทำ พรบ. เช่นรถกระทรวง ทบวง กรม     รถในความดูแลเหล่านี้  จะมีพรบ.หรือไม่มีก็ได้ ไม่ถูกปรับ  แต่หากมีผู้ประสบภัยจากรถคันเหล่านี้จะสามารถเบิกค่าเสียหายได้เพียง  “ค่าเสียหายเบื้องต้น” กับกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถเท่านั้น      

แต่ถ้ารถในหน่วยงานเหล่านี้ได้จัดทำพรบ. ผู้ประสบภัยก็จะสามารถเบิกค่าสินไหมสูงสุดกับทางบริษัทประกันภัยได้

 

สรุปเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมในเหตุการณ์ต่างๆ

         อุบัติเหตุแต่ละครั้งเชื่อว่าไม่มีใครอยากให้มันเกิดขึ้น   สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์มันรุนแรง    ดังนั้นเราสามารถเริ่มต้นได้จากที่ตัวเรา การรับผิดชอบต่อสังคม ผู้ร่วมใช้รถใช้ถนน  การมีประกันภัยพรบ.ภาคบังคับนี้ หากทุกฝ่ายให้ความสำคัญและตระหนักร่วมกัน  การรับผิดชอบในการต่อพรบ.ทุกๆปีอย่างต่อเนื่อง หากเกิดเหตุก็จะสามารถช่วยเยียวยาผู้ประสบภัยได้ทันท่วงที    โดยอัตราเบี้ยประกันภัยพรบ.สามารถดูได้จากตารางนี้

เบี้ยคิดตามลักษณะการใช้งานและซีซีของรถยนต์

         ท่านที่มีรถยนต์แล้วต้องต่อ พรบ.ทุกปี  แนะนำให้คุณลงทะเบียนสมาชิกกับบริษัทศรีกรุงโบรคเกอร์   คุณจะได้รับรหัสสมาชิก  และได้รับส่วนลดในการซื้อพรบ.ในทุกๆ ปี  5-12%   นอกจากส่วนลดในการซื้อพรบ.แล้ว  คุณยังได้รับส่วนลดในการซื้อประกันรถ  ประกันสุขภาพ ประกันการเดินทาง ประกันขนส่ง ฯ

         ลงทะเบียนสมาชิกเริ่มต้น 200 บาท เพียงครั้งเดียวก็ได้รับส่วนลดการซื้อประกันที่กล่าวมาข้างต้นได้ในทุกปี  รวมถึงรถทุกคันในครอบครัวคุณก็สามารถได้รับส่วนลดนี้เช่นเดียวกัน  ติดต่อลงทะเบียนคลิก สมัครสมาชิกด้านล่างบทความนี้

คำถาม : เหตุการณ์เหล่านี้ พรบ.คุ้มครองหรือไม่?

ตอบ : พรบ.คุ้มครองปกติ

ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก  อ.เอก เจ้าหน้าที่ศรีกรุงโบรคเกอร์สาขาอุบลราชธานี

 

         ศรีกรุงโบรคเกอร์ เป็นโบรคเกอร์ประกันครบวงจร ดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2533 ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 48 แห่ง มีพันธมิตร มากกว่า 50 บริษัท มีพนักงานประจำที่จะคอยสนับสนุนนายหน้าประกันภัย มากกว่า 600 คน มีบริการเช็คเบี้ย แจ้งงาน 7 วัน 24 ชั่วโมง มีระบบฝึกอบรมมากกว่า 20 หลักสูตร ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะในต่านต่างๆ อย่างครองคลุม

         ศรีกรุงโบรคเกอร์เป็นหนึ่งในโบรคเกอร์ ที่ คปภ.คัดเลือก ให้เป็นโบรคเกอร์ดีเด่น 2 ปีซ้อน เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพภายในองค์กร มีฐานะการเงินที่มั่นคง รวมทั้งดำเนินธุกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและมีธรรมาภิบาล

         นอกจากนี้ ศรีกรุงโบรคเกอร์ยังมีแผนการตลาดที่สุดยอด ไม่บังคับยอดขาย ตำแหน่งขึ้นแล้วไม่มีลง สามารถรับรายได้เดือนละเป็นแสนบาท/เดือน จากการสร้างและบริหารทีมขาย ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาบริษัทในด้านตางๆ ตลอดจนความเป็นเลิศและความทุ่มเทในการให้บริการลูกค้า ศรีกรุงโบรคเกอร์จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับที่ต้องการจะทำธุรกิจประกันภัย

ไม่มีประสบการณ์ หรือทำงานประจำ ก็ทำธุรกินี้ได้ ไม่มีหน้าร้าน ก็ทำธุรกิจนี้ได้ เราสอนทำธุรกิจฟรี สมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ เพื่อซื้อประกันราคาสมาชิก รับส่วนลดตลอดชีพ โทร 0626529842